เรื่องเล่าความเป็นมา
เบื้องหลังการก่อตั้งเชลล์ชวนชิม
ความอร่อยทุกเส้นทาง
ความอร่อยทุกเส้นทาง
เชลล์ชวนชิมถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
โดย ม.จ.ภีศเดช รัชนี ผู้จัดการแผนกส่งเสริมการขายและการโฆษณา บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ในขณะนั้น ได้ทรงดำริที่จะส่งเสริมการขายแก๊สหุงต้มของเชลล์ จึงได้ทรงปรึกษากับ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ และเกิดเป็นแนวคิดที่จะชูเรื่องอาหาร โดยการแนะนำอาหารอร่อยในประเทศไทย ถือกำเนิดเป็น
“เชลล์ชวนชิม” ขึ้นมาใน พ.ศ.2504
โดย ม.จ.ภีศเดช รัชนี ผู้จัดการแผนกส่งเสริมการขายและการโฆษณา บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ในขณะนั้น ได้ทรงดำริที่จะส่งเสริมการขายแก๊สหุงต้มของเชลล์ จึงได้ทรงปรึกษากับ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ และเกิดเป็นแนวคิดที่จะชูเรื่องอาหาร โดยการแนะนำอาหารอร่อยในประเทศไทย ถือกำเนิดเป็น
“เชลล์ชวนชิม” ขึ้นมาใน พ.ศ.2504

ที่มาของชื่อ “เชลล์ชวนชิม”
แล้วที่นี้ก็มาถึงตอนคิดชื่อกับโลโก้ แหม เรื่องชื่อนั้นคิดกันหัวแทบแตกเชียว ผลได้ออกมาว่า “ชวนชิม” ท่านภีศเดชว่าเหมาะ แล้วก็ทรงเติม “เชลล์” เข้าไป ออกมาเป็น “เชลล์ชวนชิม” ได้ทันที ลงตัวเผง
ตกลงเชลล์ชวนชิมก็มี ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เป็นผู้ชวนชิมและเขียนแนะนํา ซึ่งมีบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้สนับสนุนตลอดรายการ นโยบายที่วางไว้แต่ต้นและรักษาอย่างเคร่งครัดตลอดมา คือ แนะนําอาหารอร่อยได้มาตรฐาน ถูกหรือแพงไม่สําคัญ ขอให้อร่อย และประการสําคัญ เป็นการแนะนําฟรี ไม่มีการเรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ หากมีผู้ไปแอบอ้าง เรียกร้องอามิสสินจ้างก็ขอให้รู้ว่ามิได้มาจากเชลล์ชวนชิม และให้เรียกตํารวจจัดการได้ทันที
ตกลงเชลล์ชวนชิมก็มี ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เป็นผู้ชวนชิมและเขียนแนะนํา ซึ่งมีบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เป็นผู้สนับสนุนตลอดรายการ นโยบายที่วางไว้แต่ต้นและรักษาอย่างเคร่งครัดตลอดมา คือ แนะนําอาหารอร่อยได้มาตรฐาน ถูกหรือแพงไม่สําคัญ ขอให้อร่อย และประการสําคัญ เป็นการแนะนําฟรี ไม่มีการเรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ หากมีผู้ไปแอบอ้าง เรียกร้องอามิสสินจ้างก็ขอให้รู้ว่ามิได้มาจากเชลล์ชวนชิม และให้เรียกตํารวจจัดการได้ทันที

โลโก้แรกของเชลล์ชวนชิม
สําหรับโลโก้ของเชลล์ชวนชิมนั้น อันแรกเป็นรูปหอยเชลล์และมีเปลวแก๊สแลบออกมา ทั้งนี้เพื่อ เป็นการโปรโมทการใช้เชลล์แก๊ส ที่เชลล์เพิ่งสั่งเข้ามาใช้ในเมืองไทยแทนการใช้ถ่าน แรก ๆ นั้นคนไทยไม่ชินกับการใช้แก๊ส กลัวระเบิด กลัวอุบัติเหตุต่าง
ๆ นานา เชลล์ชวนชิมจึงใช้เปลวแก๊สเป็นส่วนหนึ่งของโลโก้ เพื่อให้การใช้แก๊สติดตลาด

โลโก้ปัจจุบันเชลล์ชวนชิม
ไม่ช้าไม่นานเชลล์แก๊สก็เป็นที่รู้จักกันทั่ว เมื่อติดตลาดและกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของครัวไทยสมัยใหม่แล้ว เชลล์ชวนชิมก็ได้เวลาเปลี่ยนโลโก้เสียที โลโก้ใหม่ซึ่งใช้กันชินตาจนกระทั่งในปัจจุบัน เป็นรูปชามลายคราม ซึ่งเป็นเครื่องกังไสลายผักกาดที่นิยมเล่นกันมาก
ในสมัย ร.5 คุณชายถนัดศรี ได้ไอเดียมาจากกรุเครื่องลายคราม ที่ได้รับเป็นมรดกตกทอดมา โลโก้ชามลายครามของเชลล์ชวนชิมนี้ เป็นรูปภาชนะอันเป็นสัญลักษณ์ของอาหารการกิน ส่วนลายคราม ก็เป็นสัญลักษณ์ของความเก่าแก่แต่สูงค่า รวมความว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการกินดีกินเป็น



ประวัติเชลล์ชวนชิม
2504
เปิดตัวและให้ตราเชลล์ชวนชิมร้านแรก
พ.ศ. 2504 เชลล์ชวนชิมได้ถือกำเนิดขึ้นโดย ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ที่เรียกได้ว่าเป็น นักชิมระดับแนวหน้าในยุคนั้น เริ่มตีพิมพ์คอลัมน์เชลล์ชวนชิมเป็นครั้งแรกในหนังสือสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2504 โดยใช้นามปากกา “ถนัดศอ” ซึ่งเชลล์ชวนชิมเจ้าแรกที่คุณชายถนัดศรีชวนชิมเอาไว้ คือ ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นสมองหมู หรืออีกชื่อหนึ่งว่าก๋วยเตี๋ยวห้าหม้อ2562
เชลล์ชวนชิมพร้อมการันตี
ความอร่อยทุกเส้นทางวันนี้สัญลักษณ์แห่งความอร่อยที่เข้าใจรสชาติของคนไทยมากที่สุด ได้รับเกียรติจาก ม.ล.ภาสันต์ สวัสดิวัตน์ บุตรชาย ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ เข้ามาสืบทอดตำนาน
“นักชิม”ของเชลล์ชวนชิม พร้อมกับรูปแบบใหม่ที่เน้นดิจิตอลและโซเชียลมีเดีย ให้คุณอัพเดตความอร่อยระดับเชลล์ชวนชิมได้ง่ายๆ ในทุกๆ การเดินทางของคุณ

